เรื่อง การทำงานบ้าน
ความหมาย และความสำคัญของงานบ้าน
งานบ้าน หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลใน
ครอบครัว ซึ่งสมาชิกต้องมีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน อันเป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้มีความรับผิดชอบ อดทน ซื่อสัตย์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
ซึ่งงานต่าง ๆ จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัวทุกคน นอกจากนี้ การทำงานบ้านยังเป็นการออกกำลังให้มีสุขภาพดี ทั้งกาย และจิต
หลักการแบ่งความรับผิดชอบในการทำงานบ้าน
1. วิเคราะห์ และวางแผนการทำงาน ว่ามีอะไรบ้าง และใครถนัด หรือเหมาะสม
ที่จะทำงานอะไรบ้าง
2. มอบหมายงานให้สมาชิกทำความความเหมาะสม และความสามารถ
3. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจน ว่ามีใคร
ต้องทำงานอะไรบ้าง
ลักษณะของงานบ้าน
1. งานส่วนตัว
เป็นงานที่ทุกคนต้องทำสำหรับตัวเอง
1.1 ด้านสุขภาพอนามัยของตนเอง
- การทำความสะอาดร่างกาย
- การทำความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัว
- การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
1.2 ด้านการศึกษา มีการวางแผนการใช้เวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์
สมาชิกที่อยู่ในวัยเรียน ต้องแบ่งเวลาในการทบทวนบทเรียน ทำการบ้าน และเตรียมสิ่งต่าง ๆ สำหรับเรียนในวันต่อไป
1.3 ด้านความประพฤติ รู้จักวางตนให้เหมาะสมกับฐานะและวัย มีความเป็น
ระเบียบ รู้จักใช้จ่าย ขยัน อดทน มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ ประพฤติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม
1.4 ด้านกิจนิสัย มีนิสัยที่ดีในการทำงาน ทำงานด้วยความเรียบร้อย รอบคอบ
สะอาด และปลอดภัย
ลักษณะของงานบ้าน (ต่อ)
2. งานส่วนรวม
เป็นงานที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิกในครอบครัว หรือเป็นงานที่เต็มใจทำเพื่อ
ช่วยแบ่งเบาภาระของสมาชิกคนอื่นในครอบครัว
2.1 การประกอบอาหาร ถ้าเป็นเด็ก ๆ อาจช่วยพ่อแม่ จัดเตรียมอาหาร จัดโต๊ะ
อาหาร เก็บล้างจานชามหลังรับประทานอาหาร หรือทำความสะอาดพื้นครัวหลังรับประทานอาหารเรียบร้อย
2.2 งานซักรีดและทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม เป็นงานที่เป็นทั้งงานส่วนตัว
และงานส่วนรวม แล้วแต่สภาพของครอบครัว
2.3 งานทำความสะอาดและตกแต่งบ้าน เป็นงานที่สมาชิกในครอบครัวต้อง
ร่วมมือกันทำ เพื่อให้บ้านสะอาด น่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย
2.4 งานทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นงานที่สมาชิกที่ได้
รับมอบหมายอาจทำเป็นงาน ๆ เช่น การทำความสะอาดตู้เย็น พัดลม ขวดน้ำ
2.5 การดูแลผู้สูงอายุ หากในบ้านมีผู้สูงอายุอยู่ สมาชิกในบ้านควรมีหน้าที่ดูแล
ผู้สูงอายุ เช่น ช่วยหาอาหารให้รับประทาน ช่วยหยับสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยไปซื้อของที่ท่านต้องการ บีบนวด อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
2.6 งานบริการอื่น ๆ
- การดูแลน้อง หรือหลาน
- การดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย
- ทำหน้าที่อื่นแทนสมาชิกในครอบครัวคนอื่น
ความหมายของงานบ้าน
งานบ้าน หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในการสร้างความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน ซึ่งต้องปฏิบัติเป็นประจำ โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจากสมาชิกทุกคนในบ้าน
ขั้นตอนและประโยชน์ของการวางแผนทำงานบ้าน
การวางแผนทำงานบ้าน คือ การกำหนดแนวปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า ว่าจะทำอะไร อย่างไร ทำเมื่อไร ทำโดยวิธีใด ใครเป็นผู้ทำ และกำหนดงานเสร็จเมื่อไร
1. ขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน
ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก
รวดเร็วเรียบร้อย และมีคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน ดังนี้
1.1 รวบรวมงาน แจกแจงรายละเอียด และกำหนดระยะเวลาการทำงาน
1.2 เขียนภาพการทำงาน เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาเขียนเป็นแผนการ
ปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แผนการปฏิบัติงานประจำวัน แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ และแผนการปฏิบัติงานประจำเดือน การเขียนแผนการปฏิบัติงานต้องกำหนดหัวข้อที่สำคัญ ดังนี้
1) งานที่ปฏิบัติ ระบุงานและขอบข่ายงานที่ทำให้ชัดเจน
2) จุดประสงค์ในการทำเพื่ออะไร เช่น เพื่อความสะดวก เพื่อความสวยงาม เป็นต้น
3) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ จัดเตรียมสำหรับปฏิบัติงานในแต่ละครั้งให้พร้อม
4) กำหนดเวลา ต้องกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เช่น เมื่อใด
เวลาใด ระยะเวลาเท่าไร
5) กำหนดขั้นตอนการทำงาน ให้ระบุการทำงานให้ชัดเจนว่างานใดทำก่อน ทำหลัง
ให้เป็นขั้นตอน
6) กำหนดผู้รับผิดชอบ ให้ระบุผู้รับผิดชอบให้เหมาะสมกับงานแต่ละงานให้ชัดเจน
7) กำหนดค่าใช้จ่าย กำหนดรายการวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องซื้อ และประมาณการ
ค่าใช้จ่าย
1.3 ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้ ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายงานทุกคน
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนในแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ เช่น
1.4 ประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ประเมินทั้งในระหว่างการปฏิบัติงาน และหลังจากการ
ปฏิบัติงานว่าดำเนินไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไร ใช้วิธีการแก้ไขอย่างไร ผลงานที่สำเร็จแล้วดีเพียงใด มีข้อบกพร่องมากน้อยอย่างไร
ประโยชน์ของการวางแผนทำงานบ้าน
1. ทำให้สมาชิกทุกคนรู้บทบาท หน้าที่ และขอบข่ายงานที่ตนเองต้องรับผิดชอบ
สามารถเตรียมตัว และเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติได้ถูกต้อง
2. ปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงานให้เป็นระบบ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่
ชัดเจน
3. สามารถควบคุมการทำงานบ้านของสมาชิกในครอบครัวให้เป็นไปตามภาระ
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ลดปัญหาการหลบเลี่ยงงานกันเองระหว่างสมาชิก
4. สมาชิกในครอบครัวสามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดจากการทำงาน
สามารถหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ไว้ล่วงหน้า
5. ประหยัดเวลาและแรงงานในการทำงาน ไม่ต้องคิดไปทำไป หรือแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นในขณะทำงาน
6. ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ประสบการณ์ในการวางแผน การตัดสินใจ
การแก้ปัญหาการประเมินแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนทำงานอย่างอื่นต่อไป
7. ทำให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่วางไว้
วิธีการทำงานบ้านให้มีประสิทธิภาพ
1.1 ทำงานบ้านแบบประหยัดเวลา
โดยการเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมก่อนลงมือทำงาน ลดขั้นตอน
การทำงานที่ไม่จำเป็น เช่น ผึ่งจานชามให้แห้งแทนการเช็ดทำงานที่สามารถทำพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น เสียบหม้อหุงข้าว ในระหว่างที่รอข้าวสุกก็ทำกับข้าว ใช้ภาชนะชิ้นใหญ่ใส่ของชิ้นเล็กหลายๆ ชิ้น เพื่อลดการขนย้ายหลายเที่ยวเปลี่ยน